การวิวัฒนาการของ CPU
CPU
(Central Processing Units)
(Central Processing Units)
ตัวอย่าง การวิวัฒนาการของ CPU ที่ได้รับความนิยม ในปัจจุบัน
Intel
บริษัท อินเทล (Intel) เป็นบริษัทรายแรกที่ผลิตซีพียู ที่เก่าแก่และมีการพัฒนา มาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ซีพียู 8086 , 8088 และซีพียูในตระกูล 80x86 เรื่อยมา จนมาถึง Celeron , Pentium II และ III ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยนั้น ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ยุค Celeron II, Pentium 4 และ Pentium 4 Extreme Edition ที่ได้รับการตอบรับจากผู้ใช้อย่างกว้างขวาง เรื่อยมาจนมาถึงยุคของ Celeron D และ Pentium 4 ภายใต้รหัส Processor Number ใหม่ รวมไปถึงซีพียูในกลุ่ม Dual และ Quad-Core อย่าง Pentium D , Pentium Dual-Core, Pentium Extreme Edition , Core Duo, Core 2 Duo, Core 2 Quad และ Core 2 Extreme ที่ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของยุคซีพียูในแบบ Dual & Multi-Core บนเครื่องซีพีที่ใช้กันอยู่แพร่หลายในปัจจุบัน รวมทั้งซีพียูบนโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมแบบใหม่อย่าง Nehalem ที่จะมาพร้อมกันแบรนด์ใหม่ที่ชื่อว่า Core i7 เป็นต้น
รายชื่อของซีพียูสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ PC หรือ Desktop แต่ละรุ่นตั่งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของบริษัท อินเทล (Intel)
Processor Information
|
Intel Processors | Produced | Manufacturer | Max. CPU Clock rate |
4004
| From late 1971 to 1981 | Intel | 740 kHz |
4040
| From 1974 to 1981 | Intel | 500 kHz to 740 kHz |
8008
| From mid 1972 to 1983 | Intel | 0.5 MHz to 0.8 MHz |
8080
| mid 1974 | Intel | 2 MHz |
8085
| From 1977 to 1990s | Intel | 3, 5 and 6 MHz |
8086
| From 1978 to 1990s | Intel, AMD, NEC, Fujitsu,Harris (Intersil),OKI, Siemens AG,Taxes Istruments, Mitsubishi | 5 MHz to 10 MHz |
8088
| From 1979 to 1990s | Intel, AMD, NEC, Fujitsu,Harris (Intersil),OKI, Siemens AG,Taxes Istruments, Mitsubishi | 5 MHz to 10 MHz |
80186
| From 1982 to 2007 (Intel versions) | Intel, AMD, Fujitsu,Harris (Intersil),OKI, Siemens AG, | 6 MHz to 25 MHz |
80188
| From 1980 to 1982 | Intel | 8 MHz to 10 MHz |
80286
| From 1982 to early 1990s | Intel, AMD, Fujitsu,Harris (Intersil),OKI, Siemens AG, IBM | 6 MHz (4 MHz for a short time) to 25 MHz |
80386
| From 1985 to September 2007 | Intel, AMD ,IBM | 12 MHz to 40 MHz |
80486
| From 1989 to 2007 | Intel, AMD, UMC, SGS ,Harris Semiconductor,,Taxes Istruments, Thomson | 16 MHz to 100 MHz |
Pentium Pro
| November 1, 1995 | Intel | 150 MHz to 200 MHz |
Pentium II
| From mid 1997 to early 1999 | Intel | 233 MHz to 450 MHz |
Pentium III
| From early 1999 to 2003 | Intel | 400 MHz to 1.4 GHz |
Pentium 4
| From 2000 to 2008 | Intel | 1.4 GHz to 3.1 GHz |
Intel Core | Jan 2006 | Intel | |
Core 2 Duo
| 2006 | Intel | 1.06 GHz to 3.33 GHz |
Dual Core
| From 2006 to 2009 | Intel | 1.3 GHz to 2.6 GHz |
Core 2 Quad
| Aug 2008 | Intel | - |
Core i3
| January 7, 2010 | Intel | - |
Core i5
| introduced on September 8, 2009 | Intel | - |
Core i7
| March 16, 2010 | Intel | 2.80 GHz to 3.6 GHz |
AMD
AMD หรือ Advanced Micro Devices, Inc เป็นผู้ผลิตซีพียูแบบเทียบเท่า(Compatible)กับ X 86 รายแรกที่สามารถเทียบชั้นกับ INTEL ได้ในปัจจุบันที่ผ่านมาAMDเริ่มต้นด้วยการรับจ้างผลิตซีพียูให้กับ INTEL ในยุคของ 80286ที่ INTEL ผลิตเองไม่ทันขายและต่อมาก็ได้มีการพัฒนาซีพียูของตนเองขึ้นมาไล่ตาม INTEL อยู่นานจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้จึงสามารถแข่งขันกับซีพียูรุ่นต่างๆของ INTEL ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งรายละเอียดของซีพียูของทาง AMD มีดังนี้
AMD 8086
AMD 80286
AMD 80386
AMD Am486
AMD K5
- AMD K5 หลังจากที่ทาง Intel นั้นได้เปลี่ยนรูปแบบของชื่อ มาใช้แบบที่ไม่เป็นตัวเลข ทาง AMD ก็เอาบ้างสิ โดยเจ้า K5 นี้ ทาง AMD ก็กะจะเอามาชนกันตรงๆ กับ Intel Pentium เลยทีเดียว ซึ่งจะใช้งานบน Socket 5 เหมือนๆ กับ Pentium ด้วย และเพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสนในเรื่องรุ่นของความเร็ว ก็เลยมีการนำเอา PR-Rating มาใช้ในการเปรียบเทียบ ระดับความเร็ว เมื่อเทียบกับทาง Intel ซึ่งรุ่นนี้ก็มีตั้งแต่รุ่น 75 ถึง 166 MHz ใช้ความเร็วบัสของระบบที่ 50-66 MHz K5 นี้ ก็จะมีอยู่ด้วยกันถึง 4 Version
AMD K6
AMD K6-2
AMD K6-II+
AMD K6-III+
- AMD K6-III+ เป็นรุ่นที่พัฒนามาแทนที่ K6-III เดิม เพราะรายละเอียดแทบทุกอย่างจะเหมือนเดิมทั้งสิ้น เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน ส่วนที่เหลือ ก็คือี Cache ระดับ 2 มีขนาดเป็น 2 เท่าของ K6-2+ คือ 256K และที่สำคัญจะมีเฉพาะรุ่นที่เป็น Mobile PC เท่านั้น สำหรับ K6-2+ และ K6-III+ สำหรับ Mobile PC นั้น จะมีคุณสมบัติใหม่ที่เรียกว่า PowerNow! หรือเดิมชื่อ Gemini ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน คล้ายๆ กับเทคโนโลยี SpeedStep ของทาง Intel
- AMD Argon
- AMD Duron ก็คือ AMD Thunderbird หรือ เดิมมีชื่อเรียกว่า "Professional Athlon" ก็จะเป็น CPU ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน โดยจะมี Cache ระดับ 2 แบบ On-Chip ทำงานด้วยความเร็วเดียวกันกับ CPU ที่ขนาด 512K
AMD K7
- AMD64 / AMD K8 CPU 64 Bit ในสาย x86 ตัวแรกของทาง AMD ที่เรียกว่า x86-64 เป็น CPU ที่เน้นสำหรับใช้งานด้าน Server / Workstation ใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.13 ไมครอน รองรับการใช้งานแบบ 4-8 way Multi Processor
ตระกูลชิปที่อยู่ในสายการผลิตปัจจุบัน
- AMD Sempron เป็นหน่วยประมวลผลแบบ 64 บิต บนซ็อคเกต A, 754, 939 ซ็อคเก็ต AM2 ซ็อคเก็ต AM3 สำหรับเครื่องพีซีราคาประหยัด
- AMD FX เป็นหน่วยประมวลผล 4-8 คอร์ตระกูล AMD Bulldozer/Zambezi บนซ็อกเก็ต AM3+ มีการลดขนาดคอร์ลงจาก Phenom II ลง และได้มีการนำระบบโมดูล(Module) มาใช้ ซึ่ง 1 โมดูลจะมี 2 คอร์ขนาดเล็กที่ใช้แคชร่วมกัน นอกจากนั้นยังใส่ชุดคำสั่งใหม่เข้าไปเป็นจำนวนมาก
- AMD A-Series เป็นหน่วยประมวล 2-4 คอร์ตระกูล AMD Llano บนซ็อคเก็ต FM1 โดยจะมีระบบกราฟิกในตัวซีพียูด้วย
- AMD Fusion E/C-Series เป็นหน่วยประมวลผล 2 คอร์ โดยจะเป็นแบบฝังติดกับเมนบอร์ดทั้งโน้ตบุ๊คและเดสก์ทอป เน้นความประหยัดไฟ
โดยจะมีระบบกราฟิกในตัวซีพียูด้วย
- AMD Athlon II X2-AMD Athlon II X4 เป็นหน่วยประมวลผลชนิดแกนคู่-สี่แกน อยู่บนซ็อคเก็ต AM3 และจะเริ่มย้าย
มาลงซ็อคเก็ต FM1 ด้วยสำหรับใช้งานในตลาดทั่วไป โดยเป็นรุ่นที่มีพื้นฐานบนสถาปัตยกรรม Phenom
- AMD Opteron เป็นหน่วยประมวลผลสำหรับเซิรฟเวอร์หรือเวิร์กสเตชัน
- AMD Phenom II X4 เป็นหน่วยประมวลผลตระกูล Deneb ซึ่งออกจำหน่ายในช่วงไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2553 โดยมีเทคโนโลยี HyperTransport 3.0, ซ็อคเก็ต AM3 และ การมีหน่วยความจำระดับ 3 L3 cacheภายในตัวซีพียู
- AMD Phenom II X6 เป็นหน่วยประมวลผลตระกูล Thuban ซึ่งออกจำหน่ายในช่วงไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2553 โดยมีเทคโนโลยี HyperTransport 3.0, ซ็อคเก็ต AM3 และ การมีหน่วยความจำระดับ 3 L3 cacheภายในตัวซีพียู , AMD Turbo CORE Technology
ตระกูลชิปที่อยู่ในช่วงกำลังพัฒนา
- AMD Fusion CPU+GPU ซึ่งเป็นความหวังของค่าย AMD
ตัวอย่าง ของ CPU ที่ได้รับความนิยม ในอดีต
MOS 6502
อาจไม่ใช่ชื่อที่คุ้นหูกันนัก แต่เชื่อว่าหลายคนคงเคยสัมผัสกับ 6502 8บิต รุ่นนี้มาบ้าง MOS Technology processor ซึ่งออกมาในปี 1975 ตัวนี้เคยใช้กันใน Apple I และ II, Atari 2600, Nintendo NES, Commodore PET และอื่นๆ อีกมากมาย สำหรับแฟนๆ ภาพยนตร์ อาจจะจำชื่อ processor รุ่นนี้ได้จากหนังของอาร์โนลด์ สวาร์ซเนกเกอร์ ทั้งเรื่อง Terminator ภาคแรก และ Futurama’s Bender
ที่น่าทึ่งคือ ยังมีการใช้ 6502 อยู่ในปัจจุบัน และไม่ได้ใช้กับเครื่องจักรกลตกรุ่นหรือเครื่องจักรกลในนิยายเสียด้วย processor ในตระกูล 6502 จำนวนมหาศาลยังคงทำงานอยู่กับเคริ่องจักรกลที่ใช้เฝ้าดูและควบคุมอุตสาหกรรม
Zilog Z80
Z80 มีพื้นฐานมาจาก Intel 8080 แต่มียอดขายดีกว่าเพราะสามารถทำได้มากกว่าในราคาที่น้อยกว่า มีการใช้ processor รุ่นนี้ใน PC จำนวนมาก แต่รุ่นที่รู้จักกันมาที่สุดคงเป็น TRS-80 ในสหรัฐอเมริกา และ Amstrad CPC/PCW, Sinclair ZX80, ZX81 and ZX Spectrum ในอังกฤษ และยังมีการใช้ในอุปกรณ์ทางการทหาร เครื่องเล่นเกมอาร์เคด และเครื่องมือสื่อสารอีกด้วย ถือเป็น CPU ที่มีการใช้งานกันมากที่สุดนับตั้งแต่ปลายยุค 1970 มาจนถึงกลางยุค 1980
Motorola 68000
ในปี 1979 Motorola 68000 ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นศิลปะ ในฐานะ processor ที่เร็วที่สุดในตอนนั้น และยังมีการใช้งานอยู่ถึงปัจจุบันนี้ CPU รุ่นนี้ถือเป็นหัวใจของ Apple Macintosh รุ่นออริจินอล เช่นเดียวกับ Atari ST และ Commodore Amiga และก็เหมือนกับ Zilog Z80 ที่มีการนำไปใช้ในเครื่องเกมคอนโซลและตู้เกมหยอดเหรียญ ในปัจจุบัน บทบาทของมันก็เช่นเดียวกับ MOS 6502 ด้วยสถาปัตยกรรม 68000 ซึ่งใช้งานกับเครื่องมือทางอุตสาหกรรม และอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
AIM PowerPC 601
สำหรับ Mac ผู้สืบทอดของ Motorola 68000 ก็คือ PowerPC 601 ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของการร่วมงานกันระหว่าง Apple, IBM และ Motorola ซึ่งรู้สึกว่า Microsoft และ Intel เริ่มจะทรงอำนาจเกินไปในตลาดคอมพิวเตอร์ PowerPC processor ยังมีการใช้ใน Xbox 360 และ Nintendo Wii ทั้งนี้ Apple ใช้งาน processor รุ่นนี้จนกระทั่งปี 2005 จึงได้เปลี่ยนไปใช้ Intel processor แทน
ARM7
ทุกวันนี้ เรารู้จัก ARM ในฐานะผู้ออกแบบและถือสิทธิบัตรของ processors ที่โลกชื่นชอบที่สุด ซึ่งใช้ในสมาร์ทโฟนจำนวนถึง 95% เช่นเดียวกับ smart TV,แท็บเล็ต และอุปกรณ์ขนาดพกพาอื่นๆ processor ในตระกูล ARM7 ซึ่งออกมาในปี 1994 เป็นการออกแบบที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง และเป็นตระกูล 32-bit processor ที่ใช้กันมากที่สุดในโลก ด้วยอุปกรณ์จำนวนมากกว่า 1 หมื่นล้านเครื่อง
...................................................................................................................................................................
CPU
(Central Processing Units)
สรุป การพัฒนาของ CPU ในแบบต่าง ๆ
INTEL
• 1971 : 4004 Microprocessor รุ่นแรกของ Intel ใช้งานในเครื่องคิดเลข
• 1972 : 8008 Microprocessor รุ่นที่พัฒนาต่อมา ใช้งานแบบ "TV typewriter" กับ dump terminal
• 1974 : 8080 Microprocessor รุ่นนี้เป็นการใช้งานแบบ Personal Computer รุ่นแรก ๆ
• 1978 : 8086-8088 Microprocessor หรือรุ่น XT ยังเป็นแบบ 8 bit เป็น PC ที่เริ่มใช้งานจริงจัง
• 1982 : 80286 Microprocessor หรือรุ่น AT 16 bit เริ่มเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานแพร่หลายกันแล้ว
• 1985 : 80386 Microprocessor เริ่มเป็น CPU 32 bit และสามารถทำงานแบบ Multitasking ได้
• 1989 : 80486 Microprocessor เข้าสู่ยุคของการใช้จอสี และมีการติดตั้ง Math-Coprocessor ในตัว
• 1993 : Pentium Processor หลายคนยังใช้อยู่ในตอนนี้ครับ
• 1995 : Pentium Pro Processor สำหรับเครื่อง Server และ Work Station
• 1997 : Pentium II Processor ปัจจุบันยังพอหาได้อยู่บ้าง
• 1998 : Pentium II Xeon(TM) Processor สำหรับ Server และ Work Station
• 1999 : Celeron(TM) Processor สำหรับตลาดระดับล่างของ Intel ที่ตัดความสามารถบางส่วนออก
• 1999 : Pentium III Processor เป็นที่นิยมกันมาก
• 1999 : Pentium III Xeon(TM) Processor สำหรับ Server และ Work Station
AMD
- AMD K5 ซึ่งจะใช้งานบน Socket 5 เหมือนๆ กับ Intel Pentium ด้วย แมีการนำเอา PR-Rating มาใช้ในการเปรียบเทียบ ระดับความเร็ว มีอยู่ด้วยกันถึง 4 Version
- AMD K6 เป็น CPU ในรุ่นที่ 6 ของทาง AMD ซึ่งชิงเกิดก่อน Pentium II ของทาง Intel เพียงเดือน
เดียว ซึ่งรุ่นหลังนี้ ก็ได้ลดขนาดการผลิตเหลือเพียง 0.25 ไมครอนด้วย K6
- AMD K6-2 เป็น CPU ตัวใหม่ที่อยู่ในสายพันธุ์ที่ 6 เปิดตัวในราวๆ พฤษภาคม ค.ศ. 1998 ซึ่งโดยสถาปัตยกรรมหลักๆ แล้ว ก็จะยังคงคล้ายๆ กับทาง K6
- AMD K6-II+ จะเป็น CPU ที่ใช้งานบน Socket 7 ตัวสุดท้ายของทาง AMD โดยจะเป็น CPU ที่มีคุณลักษณะต่างๆ คล้ายๆ กับเจ้า Sharptooth
- AMD K6-III+ เป็นรุ่นที่พัฒนามาแทนที่ K6-III สำคัญจะมีเฉพาะรุ่นที่เป็น Mobile PC เท่านั้น สำหรับ K6-2+ และ K6-III+ คล้ายๆ กับเทคโนโลยี SpeedStep ของทาง Intel
- AMD Duron ก็คือ AMD Thunderbird หรือ เดิมมีชื่อเรียกว่า "Professional Athlon"
- AMD Athlon / AMD K7 เป็นหน่วยประมวลผล บนซ็อคเก็ต A และ สล็อต A สำหรับตลาดทั่วไป เป็นตัวแรกของทาง AMD ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้สถาปัตยกรรมของตัวเองทั้งสิ้น เพื่อแย้งข้อครหาที่ว่าพัฒนา CPU ตามหลัง Intel มาตลอด
- AMD64 / AMD K8 CPU 64 Bit ในสาย x86 ตัวแรกของทาง AMD ที่เรียกว่า x86-64 เป็น CPU ที่เน้นสำหรับใช้งานด้าน Server / Workstation
- AMD Sempron เป็นหน่วยประมวลผลแบบ 64 บิต บนซ็อคเกต A, 754, 939 ซ็อคเก็ต AM2 ซ็อคเก็ต AM3 สำหรับเครื่องพีซีราคาประหยัด
- AMD FX เป็นหน่วยประมวลผล 4-8 คอร์ตระกูล AMD Bulldozer/Zambezi บนซ็อกเก็ต AM3+ มีการลดขนาดคอร์ลงจาก Phenom II ลง และได้มีการนำระบบโมดูล(Module)
- AMD A-Series เป็นหน่วยประมวล 2-4 คอร์ตระกูล AMD Llano บนซ็อคเก็ต FM1 โดยจะมีระบบกราฟิกในตัวซีพียูด้ว
- AMD Fusion E/C-Series เป็นหน่วยประมวลผล 2 คอร์ โดยจะเป็นแบบฝังติดกับเมนบอร์ดทั้งโน้ตบุ๊คและเดสก์ทอป
- AMD Athlon II X2-AMD Athlon II X4 เป็นหน่วยประมวลผลชนิดแกนคู่-สี่แกน อยู่บนซ็อคเก็ต AM3 และจะเริ่มย้ายมาลงซ็อคเก็ต FM1 โดยเป็นรุ่นที่มีพื้นฐานบนสถาปัตยกรรม Phenom
- AMD Opteron เป็นหน่วยประมวลผลสำหรับเซิรฟเวอร์หรือเวิร์กสเตชัน
- AMD Phenom II X4 เป็นหน่วยประมวลผลตระกูล Deneb โดยมีเทคโนโลยี HyperTransport 3.0, ซ็อคเก็ต AM3 และ การมีหน่วยความจำระดับ 3 L3 cacheภายในตัวซีพียู
- AMD Phenom II X6 เป็นหน่วยประมวลผลตระกูล Thuban ซึ่งออกจำหน่ายในช่วงไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2553 โดยมีเทคโนโลยี HyperTransport 3.0, ซ็อคเก็ต AM3 และ การมีหน่วยความจำระดับ 3 L3 cacheภายในตัวซีพียู , AMD Turbo CORE Technology
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น